วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

สมาชิกการจัดการ 60 ห้อง A

รายชื่อ

       อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชด  อาจารย์ปาล์ม
001 นางสาวกรรภิรมณ์  ติระพัฒน์  น้องเอิง
002 นายก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด
003 นายเกียรติศักดิ์ ดำด้วง เอม
004 นายจีรุตม์ ศรีราม บิ๊ก
005 นายชนัตถ์ จันทร์วงค์ นัท
006 นายชานนท์ แก้วทอง
007 นางสาวฐานิญา ช่วยบำรุง พะแพง
008 นางสาวณัชชา ซังเอียด
009 นายณัฐพล ชูชื่น
010 นายตะวัน แซ่ซำ การ์ด  ตะวัน
011 นายธนพงษ์ ไชยนุรักษ์ บูม
012 นายธวัช บัวก่น บอล
013  นางสาวธิดารัตน์ เรืองเหมือน แพร
014 นายนคร ทองอินทร์
015 นายนันทวุฒิ ช่วยมณี บ่าว
016 นาย นิติกรณ์ ยอดสุวรรณ์ น๊อต
017 นางสาวนุชจรี สังข์ศิลป์ชัย
018 นายประพัฒน์พงษ์ ทองเอม นุ๊ก
019 นายปิยวิทย์ สังข์เศรษฐ์     วิทย์
020 นางสาวพนิดา สุวรรณเดชา
021 นางสาวเพชรลดา เขียวสุวรรณ
022 ไพรัตน์ แก้วทัศน์
023 นายภาคภูมิ ใจสมุทร ภูมิ
024 นายมูฮัยมีน ยะเลชู มิง
025 ยูโซฟ ใบตาเย๊ะ กำนัน
026 นายรุซดีย์ ยะลิน ดีย์
027 นางสาวลัดดาวรรณ แก้วเจริญ ปาล์ม
028 นาย วรายุทธ ชูบุญลาภ แม็ก
029  นายวัชระ โชติรุ่งโรจน์
030  นางสาววารีซ่า บาราสัน  วาวา
031  นางสาวศเร๊าะต้า หมัดบก ต้าร์
032 นายศัตยา แซ่เอี่ยม แดน
033 นายศุภณัฐ วัฒนกุล
034 นายสถิตย์ พิชัยบัณฑิตย์ แสน
035 นายสรสัช เทียนทอง
036 นายสิทธิพร บำเพิง บูม
037 นางสาวสุทธิณี บุญธรรม พิกุล
038 นางสาวสุธารส หมื่นชนม์ แบ็ม  
039 นางสาวสุภาพร ทองแย้ม   แก้ว
040 นายโสภณ สุวรรณรัศมี ใหม่
041 นายอนุพงศ์ เกษกุล
042 นาย อนุวัฒน์ ค้ำชู เอ็ม
043 นายอรรถชัย ชูสังข์  ก๊อป
044 นายอลังการ แท่งทอง จ๊ะจ๋า

089 นายสัณหวัช ขวัญเย็น

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

อธิบายรถAGV

รถAGV
 รถ AGV คืออะไร รถ AGV (Auto Guiding Vehicle) หรือเรียก กันว่า รถขนส่ง อัตโนมัติ มีระบบควบคุมเส้นทาง และ นำทางการขับเคลื่อนด้วยการเหนี่ยวนำของสนาม แม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบ ควบคุมโดยการตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้ ด้วยการประมวลผลควบคุมการทำงาน โดยไมโคร- คอนโทรลเลอร์ มูลเหตุจูงใจ 1. เพื่อลดการเข้า-ออกของพนักงานขับรถขนส่ง
2. เพื่อลดความล่าช้าจากการขนส่ง Part เนื่องจากการจราจรที่ติดขัด
3. เพื่อลดความความเมื่อยล้าจากการทำงานของพนักงานขนส่ง
4. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถขนส่งที่มีจำนวนมาก
                                                                   รถ A.G.V สำหรับลำเลียงสินค้า
AGV คืออะไร
เอจีวี (Automated Guided Vehicles: AGV) เป็นรถขนาดเล็กเคลื่อนที่ได้เอง
โดยไม่ต้องมีคนขับ เอจีวีถูกนำใช้งานจริงในอุตสาหกรรมครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1953
ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตอนนั้นถูกนามาใช้ขนถ่ายสินค้าในโกดังเก็บสินค้า
ทำให้สามารถประหยัดใน เรื่องของแรงงานคนและเวลาได้เป็นอย่างด


                                                                ส่วนประกอบของ AGV
1. ส่วนของตัวรถ
2. ส่วนของตัวตรวจเช็คเส้นทาง (Guided sensor)
ใช้เป็น Magnetic sensor
หลังการท างานของ magnetic sensor
เซ็นเซอร์จะทำการตรวจวัดความสมดุลสองข้าง ซ้าย/ขวา ของแถบแม่เหล็กแล้วดำเนินการ
ตามข้ันตอนได้เขียนโปรแกรมควบคุมไว
3. ส่วนของตัวตรวจเช็คความปลอดภัย (Safety sensor)
ใช้เป็น Ultrasonic sensor
ใช้เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ป้ องกันการชนกันระหว่าง รถ AGV กับ Station ต่างๆ
หรือระหว่าง รถ AGV กับรถ AGV โดยจะติดตัวเซ็นเซอร์ไว้ด้านหน้าและด้านข้างของ
ตัวรถ
4. ส่วนของต้นกำลัง (Motor)
5. ส่วนของไฟฟ้าภายในตัวรถ (Power supply)
6. ส่วนของอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power electronics)
7. ส่วนของตัวควบคุม (Controller)




ส่วนประกอบรถAGV


VDO



ระบบข่นส่งอัตโนมัติ

ระบบสายพานลำเลียง Belt Conveyor System

ระบบสายพานลำเลียง Belt Conveyor System เป็นระบบสายพานลำเลียงที่เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นงาน ทุกชนิด
ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor) คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน
ดังนั้น ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิตระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี 4 ประเภท
1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)

ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray ... ข้อมูลเพิ่มเติม >> ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)
2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)

ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น ... 
3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)

ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด
ข้อมูลเพิ่มเติม >> ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)
4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System
                                                                                              ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก 2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง




วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์ในโรงงานอุสาหกรรม

บทที่ 6
หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม











หุ่นยนต์ในโรงงาน  หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาททางด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรมในขณะที่งานด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการด้านแรงงานเป็นอย่างมาก การจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มจำนวนสูงขึ้นและงานอุตสาหกรรมบางงานไม่สามารถที่จะใช้แรงงงานเข้าไปทำได้ ซึ่งบางงานนั้นอันตรายและมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก หรือเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในการผลิตรวมทั้งเป็นการประหยัด ระยะเวลา ทำให้หุ่นยนต์กลายเป็นทางออกของงานด้านอุตสาหกรรม


หุ่นยนต์กู้ระเบิด








หุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับเก็บกู้ระเบิด   หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น

  • อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
  • อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์  
  • อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล  
  • อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)  
  • อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ  
  • อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
  • อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
  • อุปกรณ์ x-ray
  • อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด
 สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ  
             หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว  และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้   เมื่อ   13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น
           ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป


หุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์




อาซิโม (Ashimo) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยนด์ (Humanoid) หรือหุ่นยนต์ที่เลียนแบบท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น โดยฮอนด้า (Honda) ได้มีโครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (Humanoid) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) โดยเริ่มจากหุ่นยนต์ต้นแบบ E0-E6 ในปี ค.ศ.1986-1993 (พ.ศ.2529-2336) และ P1-P3 ในปี ค.ศ.1993-1997 (พ.ศ.2536-2540) จนกระทั่งสร้างหุ่นยนต์อาซิโม (Ashimo) สำเร็จขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543) และมีอาซิโมเวอร์ชันใหม่ในปี ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) ซึ่งมีความสามารถเพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้า รวมไปถึงความสามารถในการวิ่งของ อาซิโมรุ่นใหม่นี้สามารถวิ่งด้วยความเร็วมากถึงกิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกในปัจจุบัน ต่างจากรุ่นก่อนหน้าที่สามารถวิ่งได้เพียง 6 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้น และยังมีน้ำหนักน้อยลงเหลือ 48 กิโลกรัมเท่านั้น (รุ่นก่อนหน้าหนัก 54 กิโลกรัมต่างกันถึง 6 กิโลกรัม) มีความสูง 130 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความสูงที่พอเหมาะพอดีกับการทำงานในบ้านและในออฟฟิศเป็นอย่างมาก


ความสามารถของอาซิโม (Ashimo)
น่าทึ่งครับ กว่าจะมาเป็นอาซิโมอย่างทุกวันนี้ได้ ทีมวิจัยและพัฒนาได้ศึกษาการเคลื่อนที่และท่าทางของมนุษย์อย่างมากมาย ทำให้อาซิโมมีความสามารถต่าง ๆ ที่หลากหลาาย เช่น
1. การเดิน การเลี้ยว  การเดินนั้นอาซิโมสามารถเดินได้ด้วยความเร็ว 1.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยมีท่าทางการเดินที่เหมือนมนุษย์ ระหว่างการเดินจะมีการย่อตัวเล็กน้อย เพื่อปรับจุดศูนย์ถ่วงให้ไม่ล้ม โดยใช้เทคโนโลยี i-Walk เทคโนโลยีนี้ทำให้อาซิโมสามารถเดินไปข้างหน้า หรือเลี้ยวได้อย่างต่อเนื่องเร็วและนุ่มนวล
2. การวิ่ง อาซิโมสามารถวิ่งด้วยความเร็วที่มากถึง 9 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทำให้อาซิโมเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์(humanoid)ที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก โดยขณะที่อาซิโมวิ่งจะมีจังหวะที่ขาทั้งสองข้างยกสูงจากพื้นเป็นเวลา 0.08 วินาที
3. การเต้นรำ
4. การขึ้นบันได
5. การหลบหลีกสิ่งกีดขวาง เดินหลบผู้คนที่เดินเข้าหาได้ อาซิโมสามารถตรวจจับวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวได้ และคาดการณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุได้ ทำให้อาซิโมสามารถเดินหลบคนที่เดินเข้าหาได้ด้วย
6. กระโดดกระต่ายขาเดียวอยู่กับที่หรือไปข้างหน้าได้
7. กระโดดขาคู่สูงจากพื้นก็ทำได้เช่นกัน
8. การแยกแยะเสียงของคู่สนทนาที่มากกว่า 1 คน
9. การจดจำใบหน้าและนำไปยังสถานที่นัดพบ ทำให้อาซิโมเหมาะที่จะเป็นพนักงานต้อนรับเป็นอย่างมาก ปัจจุบันฮอนด้าได้ให้เช่าอาซิโมเพื่อใช้งานในประเทศญี่ปุ่น
10. การหยิบจับสิ่งของการถือถาดอาหาร การเสิร์ฟน้ำ  การไหว้และการทักทายจับมือโบกมือ อาซิโมสามารถถือสิ่งของด้วยมือข้างเดียวได้โดยอาซิโมสามารถถือของที่มีน้ำนหักได้ถึง 300 กรัม หากยกด้วยแขนสองข้างอาซิโมจะสามารถยกของที่หนักได้ถึง 1 กิโลกรัม
11. การเข็นรถเข็น
12. การเตะบอลไปยังเป้าหมาย
13. การตอบโต้ด้วยคำพูดอย่างง่ายได้ และรับฟังคำสั่งรวมถึงทำตามคำสั่งได้



มนุษย์เรานั้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ กำลังวังชาสภาพร่างกายก็ถดถอยเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา อายุมากกลับช่วยตัวเองได้น้อยลง บางคนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ยิ่งในสภาพสังคมปัจจุบันที่ผู้คนแข่งขันทำงานหาเงิน ทำให้ขาดเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงวัยในครอบครัว จนต้องพึ่งบริการศูนย์ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ แต่บุคลากรดูแลด้านนี้ก็อาจจะยังไม่มากพอ ฉะนั้น หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์จึงเป็นทางเลือกที่นักวิชาการมองว่าจะทำหน้าที่ได้ไม่แพ้มนุษย์

การสร้างโปรแกรมข้อมูลลงไปในหุ่นยนต์ได้พัฒนาไปไกลจนคาดไม่ถึง ทั้งการรับรู้ทางด้านวัฒนธรรม สามารถทำงานได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย มอบความบันเทิง เต็มไปด้วยมิตรภาพ และอาจจะช่วยบรรเทาแรงกดดันของคนชราที่อาศัยในศูนย์พักฟื้นผู้สูงอายุรวมทั้งในโรงพยาบาล



วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

เครื่องจักร NC

เครื่องจักร NC

ความหมายของเอ็นซี (NC)
           N   ย่อมาจาก   Numerical  (   นิวเมอร์ริเคล  )  หมายถึง   ตัวเลข   0  ถึง   9    ตัวอักษร หรือโค้ด เช่น 
A ,  B , C  ถึง  และสัญลักษณ์อื่น ๆ  เช่น เครื่องหมาย  +  ,  -  และ  %
           C  ย่อมาจาก  Control   ( คอนโทรล )  หมายถึง  การควบคุมโดยกำหนดค่า  หรือตำแหน่งจริงที่ต้องการเพื่อให้เครื่องจักรทำงานให้ได้ค่าตามที่กำหนด
ดังนั้น    เอ็นซี  ( NC )  หมายถึง    การควบคุมเครื่องจักรกลด้วยระบบตัวเลขและตัวอักษร  ซึ่งคำจำกัดความนี้ได้จากประเทศสหรัฐอเมริกา  กล่าวคือ  การเคลื่อนที่ต่าง ๆ  ตลอดจนการทำงานอื่น ๆ  ของเครื่องจักรกล  จะถูกควบคุมโดยรหัสคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวเลข  ตัวอักษร  และสัญลักษณ์อื่น ๆ  ซึ่งจะถูกแปลงเป็นเคลื่อนสัญญาณ (  Pulse )  ของกระแสไฟฟ้าหรือสัญญาณออกอื่น ๆ 
ที่จะไปกระตุ้นมอเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อทำให้เครื่องจักรกลทำงานตามขั้นตอนที่ต้องการ 


ระบบ Distribution Numerical Control: DNC
[+] Download PDF for more information
          บริษัท พอช เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด มีแผนกงานที่พร้อมด้วยวิศวกรผู้ชำนาญเฉพาะ ด้านการให้บริการพัฒนาระบบ Distribution Numerical Control: DNC การจัดการรับ/ส่งโปรแกรม NC DATA เพื่อสั่งงานผ่านหน่วยประมวลผลกลาง (Server) ไปยังเครื่องจักรกลระบบซีเอ็นซีโดยตรงพร้อมๆ กันหลายๆเครื่อง อาทิ Machining Centre, CNC Lathe, CNC Milling และ CAD/CAM Work Stations ทั้งนี้ไม่ต้องกังวลกับปัญหาการตรวจ/ผ่านการเชื่อมต่อซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์หลายๆ จุด ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์หรือการผลิตชิ้นงานที่มีขนาดความละเอียดสูง 
          Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกล

ระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

          SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม

          SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี และยังทำให้


ความหมายของ CNC

           CNC เป็นคำย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุมการทำงานเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆ เช่น เครื่องกัด เครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องเจียระไน ฯลฯ โดยการสร้างรหัส ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือเรียกว่าโปรแกรม NC ขึ้นมาควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล   ซึ่งสามารถทำให้ผลิตชิ้นงานได้รวดเร็วถูกต้อง และเที่ยงตรง นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เทคโนโลยีทางด้านไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามามีบทบาทแทนที่หลอดสุญญากาศ และทรานซิสเตอร์ก็มีการพัฒนาจากเครื่องจักร NC มาเป็นเครื่องจักร CNC (Computer Numerically Controlled) และเครื่องจักร CNC ก็กลายเป็นพระเอกที่โดดเด่นเรื่อยมา เนื่องจากมีหน่วยความจำขนาดใหญ่สามารถบรรจุโปรแกรมการทำงานต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีจอภาพแสดงผลแบบกราฟิกแสดงผลหรือจำลองการทำงานได้อีกด้วย ในการโปรแกรมข้อมูลเข้าไปยังตัวควบคุมเครื่องจักร (Machine Control) ซึ่งเรียกการควบคุมแบบนี้ว่าระบบ softwired โดยมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ แบบเก่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บโปรแกรมได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็เป็นยุคต้นของเครื่องจักรกล CNC เครื่อง CNC จะใช้เทปแม่เหล็ก, แผ่นดิสก์ หรือ ดรัม (Drum) ในการเก็บข้อมูลที่โปรแกรมเอาไว้การโปรแกรมสามารถทำได้ที่สถานีควบคุมไปยังกลุ่มเครื่องจักรกล NC แต่ถ้าเป็นกลุ่มหรือเครื่องจักรกล CNC การโปรแกรมหรือรับสัญญาณมักจะรับจาก เครื่องจักรเองโดยตรงหรือเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประจำเครื่อง DNC เป็นแนวความคิดใหม่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งตัว (Main Computer or Host) เป็นศูนย์กลางในการควบคุม และบริหารเครื่องจักรกล NC และ CNC หลายๆ เครื่องCNC จะใช้เทปแม่เหล็ก, แผ่นดิสก์ หรือ ดรัม (Drum) ในการเก็บข้อมูลที่โปรแกรมเอาไว้การโปรแกรมสามารถทำได้ที่ สถานีควบคุมไปยังกลุ่มเครื่องจักรกล NC แต่ถ้าเป็นกลุ่มหรือเครื่องจักรกล CNC การโปรแกรมหรือรับสัญญาณมักจะรับจาก เครื่องจักรเองโดยตรงหรือเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประจำเครื่อง ในการควบคุมเครื่องจักรกลซีเอ็นซี จะใช้โปรแกรมรหัสจีเป็นชุดคำสั่ง เพื่อควบคุมขับเครื่องมือตัดเฉือน (Tool) จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง    หรือเปิด-ปิดสารหล่อเย็นหรือเปลี่ยนเครื่องมือตัดเฉือน โดยเครื่องจักรกลจะทำงานโดยอัตโนมัติตามที่ได้โปรแกรมไว้ตามชุดคำสั่ง เราไม่สามารถแยกเครื่องจักรซีเอ็นซีและรหัสจีออกจากกันได้  ถ้าเราต้องการให้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงานเราต้องเรียนรู้รหัสจีเพื่อที่เราจะได้พูดภาษาเดียวกับตัวควบคุมซีเอ็นซีได้ ภายหลังจึงได้มีการพัฒนาโปรแกรม CAD/CAM ขึ้นมาใช้งานร่วมกับเครื่องจักรกล CNC ช่วยให้เข้าใจถึงวิธีการโปรแกรมรหัสจี เพื่อให้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงานตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
                    เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตาม
                  เครื่องจักรกลพื้นฐานเช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียรนัย และเครื่องตัดโลหะแผ่นเป็น
เครื่องจักรกลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม่พิมพ์ ตลอดจนหน่วยงานสร้าง ซ่อมงานโลหะโดยทั่วไป และอาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าของเครื่องจักรกลประสิทธิภาพสูงหลายประเภทในยุคปัจจุบันล้วนแต่มีรากฐานมาจากเครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้ทั้งสิ้น รูปที่ 1 แสดงการทำงานของเครื่องกลึงที่ใช้แรงงานคนในการหมุนเกลียวขับเพื่อป้อนมีดกลึงเข้าหาชิ้นงาน ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องกลึงหรือเครื่องจักรกลพื้นฐานอื่นๆ จะต้องมีทักษะและความชำนาญในการหมุนเกลียวขับที่ใช้ในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าหาชิ้นงานเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้นพบได้บ่อยว่าผู้ปฏิบัติงานต้องใช้เวลามากในการผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการมองเห็นของผู้ปฏิบัติงาน และความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการวัดที่ต้องทำบ่อยครั้ง ในบางครั้งยังพบว่าชิ้นงานที่ได้มีความคลาดเคลื่อนทางขนาดเกินกว่าที่จะยอมรับได้
             ระบบ CNC (Computer Numerical Control) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเปลี่ยนแปลงและควบคุมสภาพการทำงานของเครื่องจักรกลพื้นฐานดังกล่าวจากเดิมซึ่งใช้แรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักร ให้เครื่องจักรเหล่านี้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ระบบ CNC ยังช่วยเพิ่มความสามารถให้เครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้สามารถทำงานลักษณะซับซ้อนได้ด้วยความรวดเร็วและแม่นยำในระดับที่พ้นความสามารถในการรับรู้ของมนุษย์โดยทั่วไปหลายสิบเท่าตัว สำหรับการประยุกต์ใช้ระบบ CNC ในเครื่องจักรพื้นฐานดังกล่าว ระบบ CNC จะประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวนหนึ่งซึ่งถูกนำไปใช้ในการหมุนเกลียวขับแทนมือคน และระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ในการควบคุมมุมและความเร็วที่มอเตอร์ไฟฟ้าเหล่านั้นหมุนเกลียวขับ โดยระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวสามารถควบคุมมุมของมอเตอร์ได้ด้วยความละเอียดถึง 0.1 องศาหรือดีกว่า หรือสามารถให้ความละเอียดในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าสู่ชิ้นงานสูงถึง 0.02 มม หรือดีกว่า 
เป็นเครื่องจักรที่ใช้ระบบควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาจากคำว่า Computerized Numberical Control 


 ประเภท CNC

             เครื่องจักรที่มีสมรรถนะในการผลิตสูงในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบ CNC ทั้งสิ้น แต่จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ ที่มีความแตกต่างกันในการผลิต เอ็มวาสฯ จะเกี่ยวข้องกับงานขึ้นรูปโลหะด้วยเครื่องจักร CNCเกือบทั้งหมดมีส่วนน้อยที่เกี่ยวกับอาหารและงานไม้ประเภทของการขึ้นรูปโลหะ
1.งานโลหะแผ่น เช่น งานม้วน งานพับ งานเชื่อมประสาน งานปั๊ม (Press)งานตัด

2.งานโลหะที่เป็นก้อน (ไม่กล่าวถึงงานหล่อ) เช่น งานหล่อ งานกลึง งานกัด ตัด ไส เจียระไน ตะไบ เจาะ เอ็มวาสฯ จะเกี่ยวข้องกับงานซ่อมเครื่องจักรที่ขึ้นรูปประเภทนี้ เป็นส่วนใหญ่


ขั้นตอนการขึ้นรูปโลหะแผ่นด้วยแม่พิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับ CNC                                          

            ทำแบบตัวอย่างด้วยโฟมเพื่อเป็นแบบงานหล่อให้ได้เหล็กหล่อที่มีรูปร่างใกล้เคียงแบบสำเร็จมากที่สุด โดยการใช้เครื่องจักร CNC ในการผลิตชิ้นงานเข้าสู่กระบวนการขึ้นรูปด้วยเครื่อง CNC machining center



ขั้นตอนการผลิตแม่พิมพ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ CNC                                                         

แม่พิมพ์สำเร็จเตรียมผลิตชิ้นงาน      
ตัวอย่างชิ้นงานที่ผลิตโดยการใช้เครื่องปั๊มขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์แบบต่างๆ

เส้นทางในการขึ้นรูปแม่พิมพ์



   ชนิดของการขึ้นรูปโลหะที่เป็นก้อน

งานกลึง (Turning) จะใช้เครื่องจักรที่เรียกว่าเครื่องกลึง (Lathe Machine) ลักษณะการทำงาน คือ ชิ้นงานหมุน แล้วมีด (Tool)
วิ่งเข้าหาชิ้นงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ชนิดของเครื่องกลึงแยกเป็นเครื่องแนวนอนและแนวตั้ง
– Vertical lathe (VTL)
– Horizontal lathe ซึ่งพบเห็นได้โดยทั่วไป
งานกัด (Milling หรือ Rotating) เครื่องจักรที่ใช้ทำงานประเภทนี้ เรียกว่า เครื่องกัด (Milling Machine หรือ Machining Center) ลักษณะการทำงานคือ ตัวมีดจะหมุนพร้อมกับเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงาน ตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ แยกเป็นแนวนอนและแนวตั้งเช่นกัน


ชนิดของเครื่อง CNC Lathe
– Horizontal CNC Lathe – ลักษณะการใช้งาน คือ ชิ้นงานหมุน และ Tool เคลื่อนที่ตามแนวนอน ซึ่งรูปแบบนี้จะพบเห็นโดยทั่วไปตามโรงงานหรือโรงกลึง
– Vertical CNC Lathe – ลักษณะการใช้งาน คือ ชิ้นงานหมุน และ Tool เคลื่อนที่ตามแนวตั้งฉาก ซึ่งเครื่องจักรประเภทนี้เหมาะกับชิ้นงานขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก จะพบเห็นในโรงงานขนาดใหญ่

                                                                                                                                                                                                        ชนิดของเครื่อง CNC Machining Center
Vertical Machining Center ลักษณะ คือ Tool เคลื่อนที่ตามแนวตั้งเข้าหาชิ้นงาน Horizontal Machining Center ลักษณะ คือ Tool เคลื่อนที่ตามแนวนอนเข้าหาชิ้นงาน Table หมุนได้ 360 องศา                                                                                                                                                              


          ประเภทของ Vertical CNC Machining Center                                                               
แบบ C Frame แบบสองเสา Double Column
          ประเภทของ Horizontal CNC Machining Center
แบบ Boring CNC แบบ Floor type
          ส่วนประกอบของเครื่อง CNC
ส่วนที่เป็น hardware จะแยกเป็นส่วนที่เป็น controller และ Mechanical
Controller คือ ส่วนที่เป็นแผงวงจร มอเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า มอนิเตอร์ Mechanical คือ ส่วนที่เป็นกลไก เช่น รางแท่น แบริ่ง ball screwส่วนที่เป็น Software Operating system Programming สำหรับออกแบบเพื่อผลิตชิ้นงานให้ได้ตามต้องการ เอ็มวาสฯ จะบริการส่วนนี้เฉพาะงานสอน (Training) เท่านั้น ไม่ได้ทำในส่วนการออกแบบหรือซ่อมบำรุง
ส่วนประกอบที่เป็น Hardware หลักๆของตัวเครื่อง CNC
Mechanical Spindle คือ ส่วนที่จับยึดชิ้นงานหรือ Tool แล้วหมุน Turret คือ ป้อมมีดเป็นตัวจับ tool Saddle คือ แคร่ที่พาชุด turret เคลื่อนที่ ซึ่งจะมีส่วนประกอบเป็น slide way และ ball screw เป็นตัวขับเคลื่อน
Controller CPU system I/O interface Servo Amplifier Spindle Drive Unit Servo Motor Spindle Motor Solenoid Valve Limit switch , Sensor
       ส่วนประกอบ Mechanical


                                                                                                                                                                ส่วนประกอบ Mechanical                                                                                                
CNC Machining Center

                                                         ชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่ต้องมีการซ่อมบำรุง
ส่วนที่เป็น Controller
แผนภาพโครงสร้าง Configuration
Hardware อื่นๆในเครื่อง CNC
Solenoid valve ,Relay ,Limit switch ,Sensor
เครื่องจักร CNC ที่นิยมใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องของญี่ปุ่น
OKUMA สร้าง Controller เอง   Mori Seiki    Shinnippon Koki   Makino  Kuraki    Mitsubishi    TOSHIBA (SHIBAURA)   MAZAK    Enshu   KIRA  HAAS (USA)    MATSUURA
Controller ที่นิยมใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย
FANUC     MITSUBISHI (MELDAS)      OSP(OKUMA)     YASKAWA     SEIMENS TOSNUC(TOSHIBA)      ABB       HEIDENHAIN        Allen Bradley       FAGOR







สมาชิกการจัดการ 60 ห้อง A

รายชื่อ         อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชด    อาจารย์ปาล์ม 001 นางสาวกรรภิรมณ์  ติระพัฒน์  น้องเอิง 002 นายก้องเกียรติ ศิลป์ภูศักดิ์ อัด ...